วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แนะนำ Tip ในการติดตั้งโปรแกรมที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย ที่คุณควรรู้

ช่วงนี้ผมได้พบเห็นการติดตั้งโปรแกรม และ การใช้งานแบบผิดๆ เยอะเลยทีเดียว วันนี้เลยเขียน Tip ง่ายๆ ในการเลือกใช้โปรแกรม และ ติดตั้งอย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์มีปัญหาภายหลัง อ่านต่อ



ว่าด้วยเรื่องของการเลือกใช้งานโปรแกรมก่อนเป็นอันดับแรก การเลือกใช้งานโปรแกรมนั้นมีอยู่หลากหลายประเภท อย่างเช่น โปรแกรมประเภท Preview, Multimedia Player, System Utilities, Security, Antivirus ฯ ในการติดตั้งโปรแกรมประเภทเดียวกันหลายๆตัวบนระบบนั้น อาจไม่ส่งผลดีก็เป็นได้ ยกตัวอย่างเช่น

โปรแกรมประเภท System Tweaks หรือ โปรแกรมที่ใช้ปรับแต่งระบบ อย่าง Tuneup Utilities, หรือ AVG PC Tuneup เป็นต้น เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการปรับแต่งระบบให้ทำงานได้เร็วขึ้น แต่การติดตั้งและใช้งานโปรแกรมประเภทเดียวกันหลายๆ ตัวอาจส่งผลให้เกิดการทำงานทับซ้อนกัน หรือ แย่งกันทำงาน อธิบายง่ายๆ คือโปรแกรม 1 โปรแกรมเข้าไปปรับแต่งระบบให้ดีตามรูปแบบ Engine ของโปรแกรม แต่โปรแกรมอีกตัวนึง ก็เข้าไปปรับแต่งระบบตามรูปแบบ Engine ของตัวมันเองเช่นกัน ซึ่งโปรแกรมแต่ละตัวถูกออกแบบมาให้ทำงานเพื่อหวังผลในรูปแบบเดียวกัน แต่การทำงานนั้นไม่เหมือนกันซะทั้งหมด ทั้งนี้ผมก็ไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนกว่าโปรแกรมตัวไหนทำงานอย่างไรบ้าง แต่คร่าวๆก็คือ การใช้งานโปรแกรมประเภทนี้ ควรปิดการทำงานฟีเจอร์ "Auto" หรือ "Schedule" เอาไว้จะดีที่สุด

โปรแกรมประเภท Security, Antivirus ยกตัวอย่างเช่น Kaspersky, ESET Smart Security เป็นต้น โปรแกรมประเภทนี้จะมีปัญหาการใช้งานมากที่สุด จากผู้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ โปรแกรมประเภท Antivirus หรือ Security ส่วนมากจะมีการติดตั้ง "Driver Controller" เพื่อควบคุมการทำงานของ Modem หรือ Adapter, ควบคุม Software หรือ Object ที่รันใน Process (Realtime System Protection) และควบคุมการทำงานของ "Windows Firewall" ซึ่งบางตัวก็ยกเลิก Windows Firewall และใช้ Firewall ของตัว Antivirus เอง หรือบางตัวก็ ทำงานร่วมกับ Windows Firewall ได้ ส่วนโปรแกรมที่ติดตั้ง Driver Controller อย่างเห็นได้ชัดนั่นคือ ESET Smart Security, Bitdefender Total Security ฯ ซึ่งบางท่านไม่ทราบตรงจุดนี้ และมีหลายท่าน ที่นำโปรแกรม Antivirus มาติดตั้งไว้หลายๆตัว เพราะคิดว่ามันจะช่วยป้องกันไวรัสได้หลายๆ ทาง นั้นเป็นความคิดที่ผิดอย่างร้ายแรง เพราะการที่ติดตั้ง Antivirus หลายๆตัวนั้น อาจเกิดการชนกันของ Driver Controller ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ระบบทำงานผิดพลาด, ทำงานช้า, เปิด-ปิดเครื่องช้า, ชัดดาวน์-รีบูทไม่ได้, เกิดอาการแคช, หรือจอฟ้า ได้เลยทีเดียว ซึ่งตรงจุดนี้ โปรแกรมแอนตี้ไวรัสรุ่นหลังๆได้มีการเพิ่มเติมการตรวจสอบ System Requirement/Ready ก่อนจะทำการติดตั้ง หากมี Driver Controller หรือ Antivirus ตัวอื่นอยู่ก็จะมีข้อความเตือนก่อนเสมอ

เพิ่มเติมอีกนิดสำหรับโปรแกรมประเภท Trojan Killer, Trojan Remove หรือ Anti Malware ต่างๆ โปรแกรมประเภทนี้ ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ และ มีคุณสมบัติในการสแกนหา และ กำจัด โทรจัน มัลแวร์ สปายแวร์คล้ายๆกับ Antivirus แต่ส่วนมากจะไม่ได้ติดตั้ง Driver เพื่อควบคุมการทำงานของ Hardware และ Firewall และ ส่วนมากจะไม่ได้ทำงานแบบ Realtime System Protection และ จะทำงานหรือสแกนก็ต่อเมื่อผู้ใช้เรียกใช้งานโปรแกรม หรือตั้ง Schedule Task เอาไว้เท่านั้น ทั้งนี้ต่อให้โปรแกรมจำพวกนี้ทำงานในโหมด Realtime ก็ตาม เราสามาถนำไปใช้ร่วมกับ Antivirus ตัวอื่นๆได้

และสุดท้ายคือโปรแกรมประเภท Multimedia Player, Converter, และพวกโปรแกรมที่สร้าง Virtual Drive ทั้งหลาย เริ่มต้นด้วยโปรแกรมประเภท Multimedia Player (โปรแกรมดูหนังฟังเพลง) และ Converter (โปรแกรมแปลงไฟล์)  หากคุณเคยติดตั้งโปรแกรมประเภทนี้ บางตัวคุณอาจจะเคยเห็นการติดตั้ง Codec ต่างๆที่มากับตัวโปรแกรม ซึ่งการติดตั้ง Codec เหล่านี้ มีโอกาสที่จะทับซ้อนกัน และ อาจส่งผลให้โปรแกรมตัวอื่นๆ ที่เคยติดตั้งไปก่อนหน้านี้ ทำงานผิดปกติ อย่างเช่น ไม่สามารถ Preview, ไม่สามารถเล่นไฟล์บางประเภทที่เคยเล่นได้มาก่อน, เล่นไฟล์แล้วมีแต่ภาพไม่มีเสียง หรือ มีแต่เสียงแต่ไม่มีภาพ  (แต่โอกาสที่จะผิดพลาดเป็นไปได้น้อยมากๆ) สำหรับโปรแกรมประเภทที่สร้าง Virtual Drive หรือไดร์ฟจำลอง เพื่อจำลอง CD/DVD Rom ในการเปิดไฟล์ Image หรือ .ISO โปรแกรมประเภทนี้จะสร้าง Virtual Drive ขึ้นมา ซึ่งในบางระบบปฏิบัติการหรือในเมนบอร์ดบางรุ่น ทีถูกตั้งค่า SATA/AHCI/RAID ฯ อาจจะเกิดปัญหากับ Drive Letter ได้เพราะการเพิ่ม Virtual Drive จะเป็นการไปเพิ่ม/เปลี่ยน Drive Map ซึ่งอุปกรณ์นั้นๆถูกจำลองขึ้นมา และ ไม่มีอยู่จริง ทำให้ในเมนบอร์ดบางรุ่น หรือ ใน BIOS บางท่านที่ตั้งค่าต่างๆเพิ่มเติมด้วยตัวเองเกิดปัญหาขึ้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าต่างๆ และ ฮาร์ดแวร์ของแต่ละท่านอีกเช่นกัน

ต่อไปเป็นหลักการในการติดตั้งโปรแกรมแบบง่ายๆ ที่ท่านไม่ควรมองข้ามไป ในการติดตั้งโปรแกรม และ Crack, Patch โปรแกรมนั้น หลายท่านคงรู้วิธีทำกันดีว่าทำกันอย่างไร แต่บางท่านก็ชอบทำอะไรแปลกๆอย่างเช่น ย้าย ไดเร็กทอรี่ (Directory) หรือปลายทางที่ใช้ติดตั้งโปรแกรม อย่างเช่นปกติจะติดตั้งไปที่ C:\Programs Files ก็ย้ายไปเป็นที่อื่นซะงั้น หรือ บางท่านติดตั้งโปรแกรมเสร็จแล้วก็เข้าไปย้ายโฟลเดอร์ที่ติดตั้งโปรแกรมไปไว้ที่อื่น ซึ่งการย้ายปลายทางที่ใช้จัดเก็บข้อมูลนั้น  อาจส่งผลที่ตามมาได้หลายๆอย่าง เช่น

- การ Crack หรือ Patch โปรแกรม อาจจะไม่สมบูรณ์เพราะหา Directory ที่ถูกตั้งค่าไว้ไม่เจอ
- ข้อมูลใน Registry หรือ DLL Files ที่มีการเชื่อมโยงกับ System32 และ Registry มีการคลาดเคลื่อน หรือ สูญหาย
- สำหรับระบบปฏิบัติการ 64bit การแบ่งโฟลเดอร์ใน Programs Files และ Programs Files(x86) เป็นการแยก และ ระบุรูปแบบการทำงานของโปรแกรม หากท่านย้ายโฟลเดอร์ที่อยู่ใน Programs Files(x86) ไปไว้ที่อื่น อาจจะไม่สามารถเรียกใช้โปรแกรมเหล่านั้นได้

ต่อไปเป็นหลักการในการติดตั้งโปรแกรม และ Crack, Patch ต่างๆ ที่บางท่านอาจไม่เคยทราบมาก่อน สำหรับท่านที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Vista, 7, 8 จะมีฟีเจอร์รักษาความปลอดภัยสำหรับการใช้งานในส่วน Admin และ User ของวินโดว์ที่เพิ่มเข้ามา นั่นคือ User Account Control (UAC) ซึ่งเป็นตัวควบคุมการเรียกใช้, ติดตั้งโปรแกรม หรือ แก้ไขข้อมูลระบบต่างๆที่เกิดขึ้นจากการใช้งานของ User นั่นเอง ซึ่งในการติดตั้งโปรแกรม หรือ ทำการ Crack, Patch ฯ จำเป็นต้องเข้าไปแก้ไขข้อมูลในส่วนของ Registry, Hosts File, Over Write, Forced Processes ฯ และอื่นๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้สิทธิ์ของผู้ดูแล (Admin Rights) หากคุณเพียงแค่ดับเบ้ลคลิกเปิดโปรแกรมขึ้นมาเฉยๆ ในบางครั้ง การติดตั้งโปรแกรม หรือการ Crack, Patch นั้นอาจะไม่สมบูรณ์ เพราะฉะนั้นในการรันตัว Setup หรือติดตั้งโปรแกรมจึงจำเป็นต้อง logon คอมพิวเตอร์เข้าสู่่ "Administrator Account" และ ตอนรันโปรแกรม ให้คลิกขวาที่ตัวโปรแกรม, Crack, Patch ฯ แล้วเลือก "Run as administrator" ก็จะเป็นการรันโปรแกรมโดยใช้สิทธิ์ของผู้ดูแล "Admin Rights" แม้ว่าคุณจะ logon คอมพิวเตอร์ในชื่อของ "Administrator" แล้วก็ตาม ก็ยังจำเป็นต้องใช้การรันด้วย "Admin Rights" ด้วยเช่นกัน


ที่ผมนำมาเขียนนี้เป็นเพียงประสบการณ์จากการใช้งาน และ ซ่อมคอมพิวเตอร์ ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง หวังว่าคงจะมีประโยช์นกับผู้อ่านอยู่บ้าง สำหรับวันนี้ผมขอจบบทความแต่เพียงเท่านี้ ขอบคุณที่ติดตามอ่านกันครับ ^^

13 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณครับ ได้ความรู้เพิ่มละ :)

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณมากเลยที่เสียสละเวลานำสิ่งที่ดีและมีประโยชน์มาบอกกล่าวเผยแพร่ในครั้งนี้....กด LIKE ให้เลย☺☺♥☺☺

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณมากครับ มีประโยชมากจริงๆ

    ตอบลบ
  4. ได้ความรู้มากขึ้น ย่นเวลาตั้ง 2 ปี ขอบคุงคับ

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณสำหรับความรู้เพิ่มเติมครับ

    ตอบลบ
  6. ขอบคุณมากครับได้ความรู้มากมาย และเป็นกำลังใจให้ในการนำเสนอสิ่งดี ๆ ต่อไปครับ

    ตอบลบ
  7. ขอบคุณสำหรับความรู้บางเรื่องที่ไม่เคยรู้มาก่อนครับ

    ตอบลบ
  8. ขอบคุณมากครับได้ความรู้มากมาย และเป็นกำลังใจให้ในการนำเสนอสิ่งดี ๆ ต่อไปครับ

    ตอบลบ

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...